การเปลี่ยนแปลงระบบไฟฟ้าเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นทิศการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีและแนวปฎิบัติที่ดีที่สุด (Best Practice) ของโลก โดยมีจุดหมายในการปรับปรุง/เปลี่ยนแปลงโครงข่ายไฟฟ้าให้ทันสมัย มีความยืดหยุ่นในการรองรับ พลังงานหมุนเวียนที่ผันแปรได้มากขึ้น (เช่น พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม) การสร้างสมดุลสำหรับการผลิตที่ไม่ต่อเนื่อง สนองตอบความต้องการกำลังไฟฟ้าสูงสุด และรองรับผู้มีบทบาทหรือผู้ใช้กริดรายใหม่ๆ เพื่อประโยชน์ด้านความมั่นคงและความยืดหยุ่นของแหล่งจ่ายไฟ

ด้วยเหตุนี้ หนึ่งในทิศทางนโยบายของกลยุทธ์การเปลี่ยนผ่านสู่ CN ของไทย คือ ยุทธศาสตร์ 4D1E ซึ่งมีองค์ประกอบหลัก ได้แก่ การลดคาร์บอน (Decarbonization) การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างกว้างขวาง (Digitalization) การผลิตแบบกระจาย (Decentralization) การปรับกฎระเบียบ (Deregulation) และการเพิ่ม การใช้พลังงานไฟฟ้าในภาคส่วนต่างๆ (Electrification)  เมื่อนำองค์ประกอบเหล่านี้ไปใช้กับระบบไฟฟ้าโดยผสมผสานกับเทคโนโลยีอัจฉริยะ (Smart Technology) จะช่วยยกระดับโครงสร้างพื้นฐานของระบบได้เป็นอย่างมาก

นอกจากนี้การมีตลาดการซื้อขายไฟฟ้าที่เปิดเสรีจะนำมาซึ่งประโยชน์นานับประการแก่สังคมรวมทั้งผู้ดำเนินการระบบ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ล้วนต้องการความรู้ ทักษะ และเครื่องมือใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนระบบไฟฟ้า การปฎิบัติการระบบไฟฟ้า และอื่นๆ นอกจากนี้ ในส่วนของของพลังงานหมุนเวียนที่นอกเหนือจากพลังงานชีวภาพ เช่น เซสส์แสงอาทิตย์และลม เทคโนโลยีก็เปลี่ยนเร็วมากเช่นกัน จึงต้องมีกำลังคนที่ตามเทคโนโลยีได้ทัน บริหารจัดการทั้งในเชิงเทคนิคและเชิงโครงการได้อย่างราบรื่น อย่างน้อยที่สุดเพื่อช่วยให้แผนแม่บทการพัฒนาสมาร์ทกริดบรรลุตามเป้าหมาย

Scroll to Top