Hub of Talents
to Support Net Zero GHG Emissions

Expert Information form

สัมมนาออนไลน์เผยศักยภาพของมันสำปะหลังในการลดก๊าซเรือนกระจก

เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2568 Hub Net Zero ร่วมกับพันธมิตรจัดสัมมนาออนไลน์เรื่องศักยภาพของมันสำปะหลังในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ รศ. ดร. อำนาจ ชิดไธสง และรศ. ดร.ตรีนุช สายทองจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และ ดร. สุชาติ พงษ์ชัยผล ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (ไบโอ เทค สวทช.)

รองศาสตราจารย์ ดร.อำนาจ ชิดไธสง ให้เกียรติกล่าวเปิดงานสัมมนาซึ่งนำเสนองานวิจัยในประเทศไทยเกี่ยวกับการปล่อยและดูดซับก๊าซเรือนกระจก (GHG) ในภาคการเกษตรและแนวทางในการนำกระบวนการเหล่านี้มาใช้ในการดักจับ กักเก็บ และใช้ประโยชน์จากคาร์บอน จากนั้นได้นำเสนอผลการศึกษาการปล่อยและการลด GHG ในพืชเศรษฐกิจหลักของไทย ได้แก่ ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยการศึกษานี้ช่วยระบุจุดปล่อยก๊าซที่สำคัญและนำไปสู่กลยุทธ์ลดการปล่อยก๊าซ เช่น การจัดการน้ำ การเพราะปลูกแบบไม่ไถพรวนดิน การใช้ไบโอชาร์ และการจัดการปุ๋ยอย่างเหมาะสม

รศ. ดร.ตรีนุช สายทองนำเสนอศักยภาพของมันสำปะหลังในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)จากภาคอุตสาหกรรมและในขณะเดียวกันก็ช่วยสร้างความมั่นคงทางอาหารด้วย หลังจากการสร้างรากสะสมอาหารมันสำปะหลังมีความสามารถดูดซับ CO2 ในอัตราสูงภายใต้สภาวะ CO2 ความเข้มข้นสูง คุณสมบัตินี้ทำให้มันสำปะหลังเป็นพืชที่มีศักยภาพสูงในการดูดซับ CO2 จากอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ดร. ตรีนุชยังได้นำเสนอผลการศึกษาเบื้องต้นที่ใช้สายพันธุ์มันสำปะหลังในประเทศไทยในการดูดซับ CO2 และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนาโนบับเบิ้ล (nanobubble) ในการนำส่ง CO2 สู่พืช

ดร.สุชาติ พงษ์ชัยผล นำเสนอเทคโนโลยีนาโนบับเบิ้ลและการประยุกต์ใช้ในหลากหลายด้าน โดยในภาคการเกษตรเทคโนโลยีนี้ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืชและลดการใช้ปุ๋ย ในการบำบัดน้ำเสีย เทคโนโลยีนาโนบับเบิ้ลช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเติมอากาศและเร่งการย่อยสลายอินทรียวัตถุ อีกทั้งยังมีการนำไปใช้ในทางการแพทย์ เช่น ลดการอักเสบ ปัจจุบัน ดร. สุชาติมีร่วมมือกับ ดร.ตรีนุช ในการใช้เทคโนโลยีนาโนบับเบิ้ลในการนำส่ง CO2 สู่ต้นมันสำปะหลัง

สัมมนาออนไลน์ครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมกว่า 90 คนจากภาควิชาการและอุตสาหกรรม ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนแนวคิดและนวัตกรรมด้านการกักเก็บคาร์บอนในภาคการเกษตร

Scroll to Top