สัมมนาออนไลน์แนะนำเครื่องมือการจำลองระบบพลังงาน PyPSA

Hub Net Zero และ JGSEE ร่วมกับ บริษัท Agora Energiewende โดยการสนับสนุนจากโครงการความร่วมมือไทย-เยอรมันด้านพลังงาน คมนาคม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (TGC EMC) จัดงานสัมมนาออนไลน์ขึ้นเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2564 งานสัมมนามีวัตถุประสงค์เพื่อแนะนำ PyPSA (Python for Power System Analysis) ซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับการสร้างแบบจำลองระบบพลังงานขั้นสูง โดยมีวิทยากรทั้งไทยและเยอรมันนำเสนอภาพรวมของ PyPSA ตัวอย่างการใช้งาน และการเปรียบเทียบ PyPSA กับเครื่องมือการสร้างแบบจำลองระบบพลังงานอื่นๆ

รศ. ดร.บัณฑิต ฟุ้งธรรมสาร ที่ปรึกษาอธิการบดีด้านวิจัยและนวัตกรรมได้ให้เกียรติกล่าวเปิดงานและแนะนำวิทยากร

วิทยากรท่านแรกคือ Dr. Elisabeth Zeyen ซึ่งดำรงตำแหน่งนักวิจัยหลังปริญญาเอกที่ Department of Digital Transformation in Energy Systems ภายใต้การกำกับของ Prof. Dr. Tom Brown (พัฒนาร่วมของ PyPSAX) Technische Universität Berlin โดย Dr. Zeyen ได้บรรยายแนะนำภาพรวมของ PyPSA อธิบายคุณสมบัติ ความสามารถ ข้อดีและข้อจำกัดของเครื่องมือนี้

PyPSA เป็นเครื่องมือโอเพนซอร์ส (Open Source) สำหรับจำลองและเพิ่มประสิทธิภาพของระบบพลังงาน ที่ให้ความละเอียดสูงทั้งในเชิงพื้นที่และเวลา เหมาะสำหรับการสร้างแบบจำลองโครงข่ายไฟฟ้า การบูรณาการพลังงานหมุนเวียน และการใช้ไฟฟ้าในภาคการขนส่งและอุตสาหกรรม PyPSA ถูกนำไปใช้ในงานวิจัยที่สำคัญโดยองค์กรชั้นนำต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น International Energy Agency (IEA) ใช้ PyPSA ในการจำลองความผันแปรตามฤดูกาลและการกักเก็บพลังงานระยะยาวในรายงาน World Energy Outlook 2023 ส่วน Energy and Resources Institute (TERI) ในประเทศอินเดียได้นำ PyPSA ไปใช้ในโครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเรื่องระบบพลังงานของอินเดียในปี ค.ศ. 2030 และ 2050 นอกจากนี้ Meridian Economics ซึ่งเป็นคลังสมองในแอฟริกาใต้ ได้ใช้ PyPSA ในการศึกษาเพื่อจัดทำรายงาน การฝึกอบรม และการสร้างสถานการณ์ในรูปแบบต่าง ๆ

Dr. Samarth Kumar วิทยากรท่านที่สองซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นผู้จัดการโครงการ ที่ International Energy Data and Modelling Hub, Agora Think Tanks ได้บรรยายเกี่ยวกับการใช้ PyPSA ในการพัฒนาฉากทัศน์พลังงานระยะยาวของประเทศไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Clean, Affordable and Secure Energy for Southeast Asia (CASE) ที่ดำเนินการร่วมระหว่าง GIZ กับองค์กรระดับชาติและนานาชาติ

วิทยากรท่านสุดท้ายคือ ดร. ณัฐพงษ์ ชยวัฑโฒ นักวิจัยอาวุโสที่สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ และอาจารย์สมทบของ JGSEE โดยได้บรรยายข้อดีและข้อจำกัดของ PyPSA เมื่อเทียบกับเครื่องมือที่อื่น ๆ เช่น LEAP และ MATPOWER

การสัมมนาผ่านเว็บครั้งนี้มีผู้เข้าร่วม 50 คนจากประเทศไทยและต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักวิเคราะห์และวางแผนด้านพลังงานจากหน่วยงานรัฐ การไฟฟ้า อุตสาหกรรมพลังงานภาคเอกชน และนักวิชาการ โดยเป็นการให้ความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับ PyPSA ซึ่งเครื่องมือที่มีความสำคัญต่อการปรับปรุงพัฒนาระบบไฟฟ้าของประเทศไทยให้บรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน

Scroll to Top